Wat Chong Kham Logo

วัดจองคำ

สมฺมาสมฺพุทธ Buddha
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

วัดจองคำ พระอารามหลวง

วัดจองคำ พระอารามหลวง อำเภองาว จังหวัดลำปาง ประเทศไทย Wat Chong Kham Phra Aram Luang, Ngao, Lampang, Thailand
วิหารชัยภูมิ
วัดจองคำ พระอารามหลวง อำเภองาว จังหวัดลำปาง ประเทศไทย
วัดจองคำ

๔๓ ปี การพัฒนาวัดจองคำ พระอารามหลวง

ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๒๕ - ๒๕๖๗

Luangphu Opars
วิหารชัยภูมิ

ความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา

ย่อมหมายรู้ได้ด้วยองค์ประกอบสำคัญ ๔ ประการ คือ ศาสนธรรม อย่าง ๑ ศาสนบุคคล อย่าง ๑ ศาสนวัตถุ อย่าง ๑ ศาสนพิธี อย่าง ๑ องค์ประกอบทั้ง ๔ ประการดังกล่าวต่างก็มีความสำคัญ ที่เป็นเสมือนหนึ่งสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงพระพุทธศาสนา

วัดจองคำ

วัดจองคำ เป็นภาษาไทยใหญ่ แปลว่า วัดทองคำ อยู่ที่ตำบลบ้านหวด อำเภองาว ห่างจากอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ ๗๓ กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ ๓ ไร่ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๖ และเป็นวัดร้าง ไม่มีพระจำพรรษาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ จนกระทั่งหลวงพ่อใหญ่เจ้าอาวาสวัดศรีชุม อำเภอเมืองลำปางได้สอบถามพระโอภาส โอภาโส (๒๙ พรรษา อายุ ๔๙ ปี ณ เวลานั้น) ว่าสนใจไปจำพรรษา และบูรณะวัดร้างไหม ซึ่งท่านไม่ได้รับปากหลวงพ่อใหญ่ในทันที แต่ขออนุญาตไปดูวัดร้างก่อนว่าอยู่ที่ไหน มีสภาพอย่างไร ก่อนตัดสินใจ เมื่อท่านไปถึงวัดร้างก็พบเห็นแต่เพียงเจดีย์ที่ทรุดโทรมใกล้ล้มพังลง ไม่มีกำแพงวัด มีแต่พระพุทธรูป ๒ องค์ กับเจดีย์เล็ก องค์ที่ใกล้ล้มเช่นกัน และกุฏิพระสงฆ์อีก ๑ หลัง ที่มีแต่ชั้นบน ไม่มีพื้นกระดาน เหลือแต่เสากับหลังคา มีรูพรุนไปหมด พักอาศัยไม่ได้ แต่ภายในวัด ร่มรื่นด้วยเงาของต้นไม้ใหญ่ มีต้นบุนนาค ๑ ต้น ต้นลานกำลังออกดอก ๑ ต้น ต้นฉำฉา ๑ ต้น ต้นชมพู่ ๑ ต้น ต้นตาล ๒ ต้น และต้นขี้เหล็กกำลังออกดอกสีเหลืองอีก ๒ ต้น หลังจากที่ท่านยืนพิจารณาอยู่ตรงเจดีย์พักหนึ่ง ก็เห็นว่าที่แห่งนี้มีอนาคต ท่านสามารถสร้างขึ้นใหม่ และมาอยู่เป็นเอกเทศได้สำเร็จแน่นอน ท่านจึงกลับไปเรียนหลวงพ่อใหญ่ว่าจะไปอยู่ที่วัดจองคำ อีก ๒ วันต่อมาหลวงพ่อใหญ่ก็ให้คนไปตามกรรมการวัดจองคำมาพบมีนายเจ้าภาพเมืองพระกำนันหน บารมี และกรรมการ ได้นิมนต์ท่านไปจำพรรษาที่วัดจองคำ ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๔ หลวงพ่อใหญ่ก็ไปส่งท่านที่วัดจองคำ ท่านอยู่ที่วัดเพียงองค์เดียว จนวันหนึ่งท่านเดินข้ามเขาไปกิจนิมนต์ที่พะเยา ไปพบเณรชาวอุตรดิตถ์องค์หนึ่ง เมื่อทราบว่าเณรไม่มีที่อยู่ ท่านจึงพามาอยู่ด้วย ชาวบ้านเมื่อเห็นว่ามีพระและเณรมาจำพรรษาที่วัดจองคำแล้ว จึงนำภัตตาหารมาถวายเป็นประจำ ส่วนท่านก็ลงมือซ่อมแซมกุฏิก่ออิสดินเผา ถางหญ้า ปรับพื้นที่ แบกปูนสร้างเจดีย์ และสิ่งก่อสร้างต่างๆ ภายในวัดด้วยตนเองทุกอย่าง เว้นอยู่อย่างเดียวที่หลวงปู่ไม่ทำ คือการตัดต้นไม้ใหญ่

วิหารชัยภูมิ (อาหารเก่า)
วิหารชัยภูมิ (อาหารเก่า)
วิหารชัยภูมิ (อาหารเก่า)
วิหารชัยภูมิ (อาหารเก่า)
ประตูวัดจองคำ
ประตูวัดจองคำ
กุฏิเจ้าอาวาส
กุฏิเจ้าอาวาส

เกียรติประวัติวัดจองคำ

การพัฒนา และส่งเสริมด้านการศึกษาพระพุทธศาสนาของวัดจองคำได้รับรางวัลเกียรติยศมากมาย ทั้งในนามของวัด และนักเรียนสามเณร ดังนี้

๑. พ.ศ. ๒๕๓๗ ก่อตั้งสำนักศาสนศึกษาวัดจองคำ

๒. พ.ศ. ๒๕๓๗ ก่อตั้งมูลนิธิอาทรปชากิจอุปถัมภ์

๓. พ.ศ. ๒๕๓๘ ก่อตั้งศูนย์พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์

๔. พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง กรมการศาสนา

๕. พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นอุทยานการศึกษา กรมการศาสนา

๖. พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้รับเลือกให้เป็นสวนสมุนไพรภายในวัด กรมการศาสนา

๗. พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น กรมการศาสนา

๘. พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้รับการพิจารณายกฐานะจากวัดราษฎร์ขึ้นเป็น พระอารามหลวง

๙. พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้รับคัดเลือกให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด ลำปาง อันดับที่ ๑๙

Luangphu Opars
กุฏิเจ้าอาวาส
โรงเรียนพระปริยัติธรรม
โรงเรียนพระปริยัติธรรม
หลวงปู่โอภาส โอภาโส และฆราวาส
หลวงปู่โอภาส โอภาโส คณะสงฆ์ และสามเณร
หลวงปู่โอภาส โอภาโส
หลวงปู่โอภาส โอภาโส
หลวงปู่โอภาส คณะสงฆ์ และฆราวาส

เกียรติคุณด้านการศึกษา

๑. พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้รับประกาศนียบัตรการศึกษาพระปริยัติธรรม จากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

๒. พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้รับพระราชทานเสาเสมาธรรมจักร ด้านการส่งเสริมการศึกษา พระปริยัติธรรมแผนกบาลี จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี

๓. พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้รับแต่งตั้งจากแม่กองบาลีสนามหลวง โดยการอนุมัติของมหาเถรสมาคม ให้เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ประจำ จังหวัดลำปาง แห่งที่ ๑

๔. พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้รับพระราชทานรางวัลเข็มทองคำ มูลนิธิสมาน-คุณหญิงเบญจา แสงมะลิ สาขาพระสงฆ์ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี

๕. พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้รับพัดมหาอาทิจจมยุรวีชนี และโล่เชิดชูเกียรติ สำนักเรียนบาลีดีเด่น ที่มีนักศึกษาสอบผ่านได้เปอร์เซ็นต์มากเป็นอันดับ ๑ ของประเทศ ประจำปีการศึกษา ๒๕๔๖ จากวัดพระธรรมกาย

๖. พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้รับโล่เกียรติคุณ ด้านการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี ดีเด่น จากสำนักงานคณะกรรมการการจัดการศึกษาแห่งชาติ

๗. พ.ศ. ๒๕๕๐ - ปัจจุบัน ได้รับโล่เกียรติคุณ ด้านการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ดีเด่น จากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

๘. พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้รับรางวัลพุทธคุณูปการ ประเภทกาญจนเกียรติคุณ จากคณะกรรมาธิการ สภาผู้แทนราษฎร

๙. พ.ศ. ๒๕๕๕ - ปัจจุบัน ได้รับโล่เกียรติคุณ ด้านการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ดีเด่น จากวัดพระธรรมกาย

๑๐. พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้รับพระราชทานเสาเสมาธรรมจักร ด้านการส่งเสริมการ ศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ประเภทสำนักศาสนศึกษา จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี

พระอุโบสถวิบุรการี
พระอุโบสถวิบุรการี
พระอุโบสถวิบุรการี
พระอุโบสถวิบุรการี

การพัฒนาวัดจองคำ พระอารามหลวง

ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๒๕ - ๒๕๖๗ จากวันที่หลวงปู่โอภาสมาจำพรรษาที่วัดจองคำ เป็นวันแรก จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๖๖ รวมแล้ว ๔๓ พรรษา ปัจจุบันหลวงปู่อายุ ๙๓ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๗) ได้พัฒนาวัดจองคำมาโดยตลอด ทั้งการก่อสร้างศาสนสถานและศาสนวัตถุ การสร้างศาสนธรรม การสร้างศาสนบุคคลและชุมชนที่ดี และการรักษาศาสนพิธี ซึ่งสามารถสรุปผลงานการพัฒนาวัดจองคำที่สำคัญของหลวงปู่ ได้ดังนี้

การก่อสร้างศาสนสถานและศาสนวัตถุ

ครั้งแรกที่หลวงปู่มาอยู่เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๔ วัดจองคำมีเนื้อที่เพียง ๓ ไร่ มีสิ่งก่อสร้างเพียงกุฏิเก่าทรุดโทรมมากกุฏิเดียว และอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ (พ.ศ. ๒๕๖๗) มีลูกศิษย์จากแดนไกล มาซื้อที่ดินถวาย คนละ ๒๐ ไร่บ้าง ๑๕ ไร่บ้างรวมเป็นเนื้อที่ทั้งหมด ๓๘๗ ไร่ และมีศรัทธาญาติโยมถวายปัจจัยในการก่อสร้างศาสนสถาน ศาสนวัตถุ มากมายตามลำดับ รวมทั้งกฏิที่สร้างขึ้นใหม่อีกหลายหลัง แต่หลวงปู่ให้คนอื่นอยู่หมด เพราะอะไร เพราะกุฏิเก่านี้ให้ความสำเร็จทุกประการ จึงยกเลิกไม่ได้ มีผลานิสงส์มาก กุฏิใหม่จะสวย และใหญ่แค่ไหนก็สู้กฏิเก่าไม่ได้ มีพระผู้ใหญ่แนะนำให้สร้างใหม่ แต่หลวงปู่อยู่แบบนี้ ดังคำโบราณว่า

สถานที่ให้ความสำเร็จ ยกเลิกไม่ได้

หลวงปู่โอภาส โอภาโส กับพระเจดีย์สิทธิชัยมงคล
หลวงปู่โอภาส โอภาโส กับพระเจดีย์สิทธิชัยมงคล
พระเจดีย์สิทธิชัยมงคล
พระเจดีย์สิทธิชัยมงคล
พระเจดีย์สิทธิชัยมงคล
พระเจดีย์สิทธิชัยมงคล
พระเจดีย์สิทธิชัยมงคล
พระเจดีย์สิทธิชัยมงคล

พระเจดีย์สิทธิชัยมงคล

บูรณะเมื่อ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ แล้วเสร็จเมื่อ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๗ ขนาดกว้าง ๙.๖๐ เมตร ยาว ๙.๖๐ เมตร

กำแพงรอบวัด

สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๖ ความยาว ๑,๐๐๕ เมตร สูง ๒.๘๖ เมตร จำนวน ๓๓๕ ช่อง

กุฏิปฐมปริยัติรังษี
กุฏิปฐมปริยัติรังษี

โรงเรียนพระปริยัติธรรมอาทรปชากิจอุปถัมภ์ (กุฏิปริยัติกวี)

สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗ ขนาดกว้าง ๑๑.๔๐ เมตร ยาว ๑๑.๖๐ เมตร บูรณะเมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๕

กุฏิบุญญวัฒนะ

สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗ ขนาดกว้าง ๑๐.๒๕ เมตรยาว ๒๕.๓๐ เมตร

กุฏิปฐมปริยัติรังษี

สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕ ขนาดกว้าง๑๖ เมตร ยาว ๑๖ เมตร

อาคารสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์

สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๓ ขนาดกว้าง ๒๒ เมตร ยาว ๑๔๙ เมตร

ศาลานพมุตตมานุสรณ์ ปริยัติสุนทรรังสฤษฏิ์

สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๖ ขนาดกว้าง๒๕ เมตร ยาว ๔๕ เมตร

หอพระมหากัจจายนะ

สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๔ ขนาดกว้าง๔.๒๕ เมตร ยาว ๔.๒๕ เมตร

หอสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พุรหุมร์สี)

สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๔ ขนาดกว้าง ๔.๒๕ เมตร ยาว ๔.๒๕ เมตร

หอสมุด อาทรปชากิจ

สร้างเมื่อพ.ศ. ๒๕๓๖ ด้านทิศเหนือ ขนาดกว้าง ๕.๓๕ เมตร ยาว ๙.๗๔เมตร ด้านทิศใต้ขนาดกว้าง ๕๓๕ เมตรยาว ๙.๗๔ เมตร

ซุ้มประตู วัดจองคำ
ซุ้มประตู วัดจองคำ
ซุ้มประตู วัดจองคำ
ซุ้มประตู วัดจองคำ

ซุ้มประตู

สร้างเมื่อพ.ศ. ๒๕๓๖ ด้านทิศเหนือ ขนาดกว้าง ๕.๓๕ เมตร ยาว ๙.๗๔เมตร ด้านทิศใต้ขนาดกว้าง ๕๓๕ เมตรยาว ๙.๗๔ เมตร

กำแพงรอบวัดจองคำ
กำแพงรอบวัดจองคำ
ป้ายวัดจองคำ
ป้ายวัดจองคำ

กำแพงรอบวัดจองคำ

สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๖ ความยาว ๑,๐๐๕ เมตร สูง ๒.๘๖ เมตร จำนวน ๓๓๕ ช่อง

หอพระพิฆเนศ

สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๔ ขนาดกว้าง๔.๒๕ เมตร ยาว ๔.๒๕ เมตร

หอเจ้าแม่กวนอิม

หลังที่ ๑ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๔ ขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๐ เมตร

หลังที่ ๒ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๔ ขนาดกว้าง๔.๒๕ เมตร ยาว ๔.๒๕ เมตร

หอระฆัง

สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๔ ขนาดกว้าง๕ เมตร ยาว๕ เมตร สูง ๒๐ เมตร

หอพระอุปคุต

สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๔ ขนาดกว้าง๔.๒๕ เมตร ยาว ๔.๒๕ เมตร

หอหลวงปู่ทวด

สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๔ ขนาดกว้าง ๕ เมตร ยาว ๕ เมตร

ตำหนักสมเด็จพระ มหารัชมังคลาจารย์

สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๕ ขนาดกว้าง ๒๕ เมตร ยาว ๓๕ เมตร

กุฎิที่พักโยม

สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๕ ขนาดกว้าง ๒๗ เมตร ยาว ๓๒ เมตร

กุฏิพระอาคันตุกะ หลังที่ ๑

สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๑ ขนาดกว้าง ๓ เมตร ยาว ๑๐ เมตร

กุฏิพระอาคันตุกะ หลังที่ ๒

สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๑ ขนาดกว้าง ๓ เมตร ยาว ๑๐ เมตร

เรือนผู้ปฏิบัติธรรม

จำนวน ๖ หลัง สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๕ ขนาดกว้าง ๓ เมตร ยาว ๑๒ เมตร

กุฏิปริยัติกวี

สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗ ขนาดกว้าง ๑๑.๔๐ เมตร ยาว ๑๑.๖๐ เมตร บูรณะเมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๕

การก่อสร้าง พุทธสังเวชนียสถาน ณ วัดจองคำ พระอารามหลวง

Luangphu Opars
พระมหาเจดีย์พุทธคยา วัดจองคำ
เสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช

พระมหาเจดีย์พุทธคยา

สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๕ ขนาดกว้าง ๒๖ เมตร ยาว ๒๙ เมตร สูง ๕๓ เมตร

หลวงปู่โอภาส โอภาโส
คณะสงฆ์สายวัดหนองป่าพงพร้อมกันที่พระอุโบสถศาสนวิบุลการี (พระอุโบสถหลังเก่า) ประกอบพิธีสวดถอนติจีวราวิปปวาสสีมา และสมานสังวาสสีมา
พระอุโบสถศาสโนทัย
พระอุโบสถศาสโนทัย
พระอุโบสถศาสโนทัย
พระอุโบสถศาสโนทัย
พระอุโบสถศาสโนทัย

พระอุโบสถศาสโนทัย

สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๑ ขนาดกว้าง ๒๘ เมตร ยาว ๔๕ เมตร

Luangphu Opars
กุสินารา วัดจองคำ

กุสินารา

สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๔ ขนาดกว้าง ๒๕ เมตร ยาว ๔๕ เมตร

ลุมพินี วัดจองคำ
ลุมพินี วัดจองคำ

ลุมพินี

สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๔ ขนาดกว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๒๑ เมตร

สารนาถ วัดจองคำ
สารนาถ วัดจองคำ

สารนาถ

สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๔ ขนาดกว้าง๓๗.๔๐ เมตร ยาว ๓๗.๔๐ เมตร

สระมุจลินท์
สระมุจลินท์

สระมุจลินท์

สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๕ ขนาดกว้าง ๓๘.๓๐ เมตร ยาว ๗๑.๒๐ เมตร

พระอุโบสถศาสโนทัย
พระอุโบสถศาสโนทัย
พระอุโบสถศาสโนทัย
พระอุโบสถศาสโนทัย

อุโบสถศาสโนทัย

พระอุโบสถศาสโนทัย หลวงปู่มีดำริว่า อยากจะสร้างสังเวชนียสถานถวายพระเจ้าอยู่หัวและพระราชวงศ์ เพิ่มเติมจาก พระมหาเจดีย์พุทธคยา ณ วัดจองคำ ซึ่งสร้างเสร็จ และมีพิธีสมโภช เมื่อวันที่ -๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ได้แ

เพื่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ มียอดฉัตรต่าง ๆ แบบพม่าทุกประการ

พระพุทธมหามัยมุนี
พระพุทธมหามัยมุนี

พระพุทธมหามัยมุนี หรือ มะฮาเมียะมุนิ

พระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถศาสโนทัย หลวงปู่ได้รับถวายจากลูกศิษย์ชาวพม่า มีขนาดเท่าพระพุทธมหามัยมุนีองค์จริง ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าศาสนวัตถุที่ศักดิ์สิทธิ์ของพม่า คำว่ามหามัยมุนี แปลว่า "ผู้รู้อันประเสริฐ" (The Great Sage) เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องกษัตริย์ปัจุบันประดิษฐานอยู่ที่เมืองมัณฑะเลย์องค์พระทำจากทองสัมฤทธิ์หนัก .๕ ตัน อีกพระนามหนึ่งของพระพุทธมหามัยมุนี คือ " พระเนื้อนิ่ม " เพราะมีการปิดทองซ้ำมานานหลายศตวรรษจนเป็นรอยย่นไปทั่วทั้งองค์ ซึ่งหากเอานิ้วกดลงไป จะรู้สึกได้ถึงความอ่อนนิ่มของทองคำเปลว ที่ปิดทับซ้อนกันนับพันนับหมื่นชั้น แต่พระพักตร์ขององค์พระพุทธมหามัยมุนีก็ยังแลดูใหญ่ตามองค์พระพุทธรูป ทั้งที่ไม่ได้มีการปิดทองที่องค์พระพักตร์เลยแม้แต่น้อย

มีความเชื่อว่าพระพุทธมหามัยมุนีเป็นพระพุทธรูปที่มีชีวิต ด้วยเหตุที่ได้รับประทานพรหรือบางตำนานก็กล่าวว่าได้รับประทานลมหายใจจากพระพุทธเจ้า จึงมีประเพณีล้างพระพักตร์ถวายทุกเช้าในเวลาประมาณตีสี่ พระมหาเถระและสาธุชนทั่วไปที่ศรัทธาจะมาทำพิธีล้างพระพักตร์ด้วยน้ำอบน้ำหอมผสมทานาคาอย่างดี พร้อมกับใช้แปรงทองแปรงที่พระโอษฐ์เสมือนหนึ่งแปรงพระทนต์ถวายพระพุทธเจ้า ก่อนใช้ผ้าจากศรัทธาสาธุชนที่ถวายมาเช็ดจนแห้งสนิท แล้วคืนให้ไปบูชาต่อ พร้อมใช้พัดทองโบกถวาย เสมือนหนึ่งได้อุปัฏฐากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขณะที่ยังทรงพระชนมชีพอยู่

ท้าวเวสสุวรรณ
ท้าวเวสสุวรรณ

ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวเวสสุวัณ ท้าวเวสวัณ

(สันสกฤต: สน Vaisravana ไวศุรวณ; บาลี: draur Vessavana เวสุสวณ) เป็นเทพเจ้าแห่งยักษ์ หนึ่งในจาตุมหาราช ครองโลกบาลทิศเหนือ ยืนถือกระบองยาว มีบริวารแสนโกฏิ สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ทำหน้าที่รักษาความเรียบร้อย และความยุติธรรมในสวรรค์ เป็นเทพผู้ปกป้องพระพุทธศาสนา และคุ้มครองโลกมนุษย์ คอยปัดเป่า สิ่งไม่ดีออกไปจากชีวิต อีกทั้งยังเป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภ (ในศาสนาฮินดู คือ ท้าวกุเวร)

รูปหล่อท้าวเวสสุวรรณที่วัดจองคํา พระอารามหลวง ได้รับพระราชทานจาก สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ประวัติวัดจองคำจากคำบอกเล่าของหลวงปู่

"หลวงปู่มาอยู่ที่วัดจองคำแรก ๆ เป็นวัดร้างจะเรียกว่าแทบจะไม่ใช่วัดก็ว่าได้ ไม่มีใครอยู่ พระก็ไม่มี คนก็ไม่มี ลวดหนามล้อมก็ไม่มี เป็นที่เลี้ยงวัวของชาวบ้าน มาใหม่ ๆ นี้ รถส่วนตัวก็ไม่มี ขุดดิน ขุดรากไม้ ตัดหญ้า ปลูกต้นไม้ ทุกประการ ทำเองหมด กุฏินี้เป็นกุฏิของเจ้าอาวาสพระอารามหลวงก็ถูก ตั้งแต่แรกเหลือกุฏิเก่ากุฏิเดียวและอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ กุฏิที่สร้างใหม่ให้คนอื่นอยู่หมด เพราะอะไร เพราะกุฏิเก่านี้ให้สำเร็จทุกประการจึงยกเลิกไม่ได้ มีผลานิสงส์มาก กุฏิใหม่จะสวยและใหญ่แค่ไหนก็สู้กุฏิเก่าไม่ได้ มีพระผู้ใหญ่แนะนำให้สร้างใหม่ แต่หลวงปู่อยู่แบบนี้ โบราณว่า “สถานที่ให้ความสำเร็จ ยกเลิกไม่ได้” วัดจองคำครั้งแรกมีเนื้อที่ ๓ ไร่ เป็นวัดร้าง มีน้ำบ่อที่เดียว มีต้นบุนนาค ต้นตาล ๒ ต้น ต้นจามจุรี และต้นชมพู่แค่นี้เอง ภายใน ๓ ไร่นี้ มีแต่ต้นไม้ที่ถูกตัดทิ้งเหลือแต่ตอบ้าง เหลือแค่รากไม้บ้าง หลังจากนั้นมาก็มีลูกศิษย์จากแดนไกลมาชื้อที่ดินถวาย คนละ ๒๐ ไร่บ้าง ๑๕ ไร่บ้าง รวมที่ลูกศิษย์ชื้อถวายมานี้ได้ ๓๐๐ กว่าไร่ ครั้งแรกเป็นวัดร้าง ต่อมาขึ้นทะเบียนเป็นวัดราษฎร์ ต่อมา พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นวัดพระอารามหลวงเป็นวัดของราชวงศ์ หลวงปู่อ่านไว้เสมอว่า “โง่แท้ ๆ ไม่ดี แต่ต้องแกล้งโง่เป็น เดี๋ยวนี้ลำบาก อนาคตสบาย” เมื่อเราทำดี สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มหาเถรสมาคมและท่านที่มีฝีมือและมีบารมีในประเทศเชื่อใจไว้วางใจ วัดจองคำก็เจริญขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะการบริหารการศึกษา ในประเทศไทยมี ๓๐,๐๐๐ กว่าวัด วัดจองคำได้อันดับ ๑ ของประเทศในด้านการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหลายแห่งก็มาถวายปริญญาโทบ้าง ปริญญาเอกบ้าง ปริญญาเอกได้มา ๓ ครั้ง จาก ๓ มหาวิทยาลัย แม้แต่รัฐสภาก็มาถวายเหรียญกาญจนา หมดที่จะเอาแล้ว รางวัลที่ได้รับมานี้มีหลายประเภททั้งรางวัลส่วนตัวหลวงปู่และรางวัลของสำนักเรียน ได้มามากมาย ไปรับในวังบ้าง ที่พุทธมณฑลบ้าง ที่รัฐสภาบ้าง การศึกษาแห่งชาติก็มาดูเรื่องนี้บ่อย ๆ เสร็จแล้ว นิมนต์ไปประชุมที่การศึกษาแห่งชาติกรุงเทพมหานคร และเลือกวัดจองคำเป็นอันดับหนึ่งในด้านการบริหารการศึกษา วัดจองคำตั้งอยู่ในดงในป่า แต่สามารถตั้งเป็นโรงเรียนบาลีได้ สำเร็จดีอยู่ โดยเฉพาะป.ธ. ๙ ตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบันยังไม่มีวัดไหนที่มีสามเณรสอบผ่านเปรียญธรรม ๙ ประโยคปีเดียวได้ถึง ๗ รูป เป็นสามเณรนาคหลวงทั้งหมด วัดจึงมีชื่อเสียงโด่งดังมาจนถึงทุกวันนี้ เป็นตัวอย่างของโรงเรียนมคธ อย่างนี้หลวงปู่ก็เหนื่อยมากจนถึงทุกวันนี้ ที่สำเร็จมาได้ข้อนี้เป็นเพราะ “คนก็ต้องมีระเบียบ การค้าต้องมีบัญชี นาก็ต้องมีคัน” หลวงปู่อธิบายอยู่ตลอด ในการบริหารต้องใช้ ๒ วิธี คือ ๑. จิตวิทยาเป็นหลัก ๒. ทัสสนัย ความคิดเห็นเป็นรอง ๒ หลักนี้เป็นปกครอง

หลวงปู่ได้ตั้งข้ออธิษฐานไว้ ๓ ประการว่า

๑. จะก่อตั้งสำนักปฏิบัติธรรม

๒. จะก่อตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรม

๓. จะก่อตั้งบ้านพักคนชรา ๓ แห่ง

จึงตกลงใจว่า ศาสนาอยู่ที่พระปริยัติ เรียนคันถธุระเป็นจุดสำคัญ ที่หลวงปู่สร้างพุทธคยาก่อนก็เพราะว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสำเร็จเป็นพระสัพพัญญูที่พุทธคยาจึงสร้างก่อน เสร็จแล้วอย่างอื่นก็สำเร็จทุกประการ

แผนที่วัดจองคำ พระอารามหลวง Wat Chong Kham Map
แผนที่วัดจองคำ พระอารามหลวง
แผนที่วัดจองคำ พระอารามหลวง Wat Chong Kham Map
หลวงปู่โอภาส โอภาโส และเจ้าคุณชลอ ชยสิทฺโธ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า Buddha
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
© พุทธศักราช ๒๕๖๗ วัดจองคำ พระอารามหลวง © 2024 Wat Chong Kham