พระพรหมมงคลวัชโรดม (โอภาส โอภาโส) มีนามเดิมว่า โอภาส เกิดเมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๕ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีมะแม อายุ ๙๓ ปี พรรษา ๗๓ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน หลวงปู่เป็นศิษย์ของพระอาจารย์ใหญ่สังวโร แห่งสาธารณรัฐสหภาพเมียนมาร์ ได้ติดตามอาจารย์ปฏิบัติกรรมฐานในช่วงที่จำพรรษาอยู่สาธารณรัฐสหภาพเมียนมาร์ตลอด ได้จาริกแสวงบุญ และปฏิบัติกรรมฐานที่ประเทศอินเดียเป็นเวลาหลายปี และได้ธุดงค์มาที่ประเทศไทย ตั้งแต่ปี ๒๕๒๓ เพื่อปฏิบัติกรรมฐานและปฏิบัติศาสนกิจจนถึงปัจจุบัน
หลวงปู่ได้ตั้งจิตอธิษฐานในการพัฒนาศาสนบุคคล และสร้างชุมชนที่ดี ไว้ ๓ ประการ คือ
๑. จะก่อตั้งสำนักปฏิบัติธรรม
๒. จะก่อตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรม
๓. จะก่อตั้งบ้านพักคนชรา ๓ แห่ง
ด้วยปฏิปทาที่น่าเลื่อมใส และทศบารมีที่หลวงปู่เพียรปฏิบัติมาโดยตลอดในการพัฒนาตนเองให้เป็นที่รู้จัก ศรัทธา และเชื่อมั่นของบรรดาญาติโยม ลูกศิษย์ลูกหาทั้งภายในภายนอกประเทศ ตลอดจนหน่วยงานทางราชการทางพุทธศาสนา และทางราชวงศ์ จึงเป็นผลให้ข้ออธิษฐานจิตของหลวงปู่เกิดขึ้นได้จริงมาเป็นลำดับ ซึ่งหลวงปู่เล่าสรุปให้ฟังว่า หลังจากเข้ามาพัฒนาวัดจองคำได้ระยะหนึ่ง ก็ดำเนินการขอขึ้นทะเบียนจากวัดร้างเป็นวัดราษฎร์ และในเดือน มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ เนื่องในวโรกาส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี วัดจองคำก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เป็นวัดของราชวงศ์
หลวงปู่ยังสอนด้วยว่า
โง่แท้ๆ ไม่ดี แต่ต้องแกล้งโง่เป็น
เดี๋ยวนี้ลำบาก อนาคตสบาย
เมื่อเราทำดี สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มหาเถระสมาคมและท่าที่มีฝีมือ และมีบารมีในประเทศเชื่อใจไว้วางใจ วัดจองคำก็เจริญขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะการบริหารการศึกษา ในประเทศไทยมี ๓๐,๐๐๐ กว่าวัด วัดจองคำได้อันดับ ๑ ของประเทศในด้านการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหลายแห่ง ก็มาถวายปริญญาโทบ้าง ปริญญาเอกบ้าง ปริญญาเอกได้มา ๓ ครั้งจาก ๓ มหาวิทยาลัย แม้แต่รัฐสภาก็มาถวายเหรียญกาญจนาภิเษก หมดที่จะเอาแล้วรางวัลที่ได้รับมานี้มีหลายประเภท ทั้งรางวัลส่วนตัวหลวงปู่ และรางวัลของสามเณรนักเรียน ได้มามากมาย ไปรับในวังบ้าง ที่พุทธมณฑลบ้าง ที่รัฐสภาบ้างการศึกษาแห่งชาติก็มาดูเรื่องนี้บ่อย ๆ เสร็จแล้วนิมนต์ไปประชุมที่การศึกษาแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร และในที่ประชุมมีมติเลือกวัดจองคำเป็นอันดับหนึ่งใน ด้านการบริหารการศึกษา วัดจองคำตั้งอยู่ในดงในป่า แต่สามารถตั้งเป็นโรงเรียน บาลีได้สำเร็จดีอยู่ โดยเฉพาะ ป.ธ. ๙ ตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีวัดไหนที่มีสามเณรสอบผ่านเปรียญธรรม ๙ ประโยค ปีเดียวได้ถึง ๗ รูปเป็นสามเณรนาคหลวงทั้งหมด วัดจึงมีชื่อเสียงโด่งดังมาจนถึงทุกวันนี้เป็นตัวอย่างของโรงเรียนมคร อย่างนี้หลวงปู่ก็เหนื่อยมากจนถึงทุกวันนี้ ที่สำเร็จมาได้ข้อนี้เป็นเพราะ " คนก็ต้องมีระเบียบ การค้าต้องมีบัญชี นาก็ต้องมีคัน "หลวงปู่อธิบายอยู่เสมอว่า ในการบริหารต้องใช้ ๒ หลักการปกครอง คือ
๑. จิตวิทยา เป็นหลัก
๒. ทัศนะ ความคิดเห็นเป็นรอง
หลวงปู่ทำเป็นตัวอย่าง หลวงปู่ให้ความสำคัญกับการศึกษาอย่างมาก จึงเพียรพยายามใฝ่หาความรู้ให้กับตนเองก่อน เพื่อเป็นตัวอย่างให้บรรดาลูกศิษย์ ลูกเณร ทั้งหลายดำเนินรอยตาม ดังนี้ วุฒิการศึกษา
๑. พ.ศ. ๒๔๙๓ สำเร็จชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนงาวภาณุนิยมอำเภองาว จังหวัดลำปาง
๒. พ.ศ. ๒๕๓๗ สอบได้ น.ธ.เอก สำนักศาสนศึกษาวัดจองคำ
ต. พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้รับปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (กิตติมศักดิ์) สาขาบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
๔. พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้รับปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต (กิตติมศักดิ์) สาขาบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย
๕. พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้รับปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (กิตติมศักดิ์) สาขาบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
๖. พ.ศ. ๒๕๕๘ ได้รับปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (กิตติมศักดิ์) สาขาวิชาหลักสตูรและการสอน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
๗. การศึกษาพิเศษ มีความรู้พิเศษทางภาษาอังกฤษ และสามารถใช้ภาษาอังกฤษพูดติดต่อกับชาวต่างชาติได้
๘. ความชำนาญพิเศษ ทางด้านการก่อสร้าง ออกแบบแผนผัง พระอุโบสถ วิหาร และความชำนาญในด้านการอนุรักษ์วัตถุโบราณ
สำหรับงานบริหารนั้น หลวงปู่ได้รับการยอมรับและไว้วางใจให้บริหาร จัดการภายในวัดจองคำ หน่วยงานทางพระพุทธศาสนา และหน่วยงานทางราชการ ในหน้าที่ต่าง ๆ ตามลำดับดังนี้
๑. พ.ศ. ๒๕๒๔ ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดจองคำ ตำบลบ้านหวดอำเภองาว จังหวัดลำปาง
๒. พ.ศ. ๒๕๒๕ เจ้าอาวาสวัดจองคำ ตำบลบ้านหวด อำเภองาว จังหวัดลำปาง
๓. พ.ศ. ๒๕๓๙ ประธานองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหวด อำเภองาว จังหวัดลำปาง
๔. พ.ศ. ๒๕๔๕ เจ้าคณะตำบลหลวงเหนือ - แม่ตีบ อำเภองาว จังหวัดลำปาง
๕. พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
อ. พ.ศ. ๒๕๔๗ ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดลำปาง
๗. พ.ศ. ๒๕๔๙ เจ้าอาวาสวัดจองคำ พระอารามหลวง
๘. พ.ศ. ๒๕๖๑ ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๖
ในด้านการศึกษา หลวงปู่ได้รับการยอมรับว่ามีประสบการณ์สูงในการบริหารจัดการการเรียนการสอนพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี ดังนี้
๑. พ.ศ. ๒๕๒๕ - ปัจจุบัน กรรมการอำนวยการสอบธรรมสนามหลวงประจำสนามสอบ อำเภองาว จังหวัดลำปาง
๒. พ.ศ. ๒๕๒๕ - ปัจจุบัน กรรมการอุปถัมภ์โรงเรียนวิทิตธรรมคุณ อุปถัมภ์ อำเภองาว จังหวัดลำปาง
๓. พ.ศ. ๒๕๓๗ - ปัจจุบัน เจ้าสำนักศาสนศึกษาวัดจองคำ อำเภองาว จังหวัดลำปาง
๔. พ.ศ. ๒๕๓๗ - ปัจจุบัน ครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลีประจำสำนักศาสนศึกษาวัดจองคำ อำเภองาว จังหวัดลำปาง
๕. พ.ศ. ๒๕๓๘ - ปัจจุบัน ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพุทธศาสนา วันอาทิตย์ วัดจองคำ อำเภองาว จังหวัดลำปาง
๖. พ.ศ. ๒๕๔๒ - ปัจจุบัน ผู้จัดการโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ประจำจังหวัดลำปาง แห่งที่ ๑ วัดจองคำ
๗. พ.ศ. ๒๕๔๒ - ปัจจุบัน กรรมการตรวจข้อสอบธรรมสนามหลวงของคณะสงฆ์ ภาค ๖
จากผลงานของหลวงปู่ ด้านการส่งเสริมและเผยแผ่พระพุทธศาสนามาโดยตลอด หลวงปู่จึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ในวาระต่าง ๆ ดังนี้
๑. พ.ศ. ๒๕๓๓ "พระครูอาทรปชากิจ" พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นโท
๒. พ.ศ. ๒๕๓๙ "พระครูอาทรปชากิจ" พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นเอก
๓. พ.ศ. ๒๕๔๒ "พระปริยัติสุนทร" พระราชาคณะ ชั้นสามัญ
๔. พ.ศ. ๒๕๔๗ "พระราชปริยัตโยดม" พระราชาคณะ ชั้นราช
๕ พ.ศ. ๒๕๕๗ "พระเทพปริยัติมงคล" พระราชาคณะ ชั้นเทพ
๖. พ.ศ. ๒๕๖๔ "พระพรหมมงคลวัชโรดม" พระราชาคณะ ชั้นพรหม
เมื่อวันที่ ๒๕ - ๒๖ - ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ ทรงนิมนต์หลวงปู่เข้าเฝ้า เพื่อทรงมีพระราชปฏิสันถารในข้อธรรม และวิธีฏิบัติธรรมต่าง ๆ
ต่อมา เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้นายพลากร สุวรรณรัฐองคมนตรี เป็นผู้เชิญหิรัญบัฏ พัดยศ และเครื่องประกอบสมณศักดิ์ ถวายแด่พระพรหมมงคลวัชโรดม เจ้าอาวาสวัดจองคำ พระอารามหลวง อำเภองาว จังหวัดลำปาง โดยมีนาย สิธิชัย จินดาหลวง ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง พร้อมด้วยคณะ ผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และ ศิษยานุศิษย์ เข้าร่วมงานพิธี
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า โดยที่ทรงพระราชดำริว่า พระสงฆ์ซึ่งดำรงในสมณคุณ มีอุปการะยิ่งแก่การพระศาสนา สมควรจะได้เลื่อนอิสริยฐานันดรในสมณศักดิ์สูงขึ้นมีอยู่ จึงทรงพระกรุณาโปรดสถาปนา พระเทพปริยัติมงคล ขึ้นเป็น พระราชาคณะเจ้าคณะรอง มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฏว่า พระพรหมมงคลวัชโรดม สุตาคมปริยัติวิธาน ปรีชาญาณอัคคบัณฑิต ไพศาลศาสนกิจดิลก สาธกธรรมวิจิตร มหาคณิสสร บวรสังฆารามคามวาสี สถิต ณ วัดจองคำ พระอารามหลวง จังหวัดลำปาง มีฐานานุศักดิ์ตั้ง ฐานานุกรมได้ ๘ รูป
ประกาศ ณ วันที่ ๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๔ เป็นปีที่ ในรัชกาลปัจจุบัน
ถ้าไม่ฟัง ไม่เรียน ไม่ต้องเป็นนักเรียน ถ้าไม่พูด ไม่สอน ไม่ต้องเป็นอาจารย์
มานะ ทิฏฐิ กับชีวิต ต้องรักษาชีวิตก่อน
ศักดิ์ศรี กับคุณธรรม ต้องรักษาคุณธรรมก่อน
ชีวิต กับศีล ต้องรักษาศีลไว้ก่อน
ศักดิ์ศรี กับคุณธรรม ต้องรักษาคุณธรรมไว้ก่อน
ทรัพย์สิน กับชีวิต ต้องรักษาชีวิตไว้ก่อน
คนมีความอิจฉาริษยานี้แย่กว่าคนเลี้ยงงูเท่า สักวันหนึ่งงูเท่าจะกัดผู้เลี้ยงแน่นอน
นา คันนาเป็นสำคัญ การค้า บัญชีเป็นสำคัญ คน ระเบียบวินัยเป็นสำคัญ
ลำบากวันนี้ สบายวันหน้า สบายวันนี้ ลำบากวันหน้า
ไม่ตีก็ต้องเจ็บ ไม่พูดก็ต้องรู้ เรียนแล้วต้องเก่ง เก่งแล้วต้องปฏิบัติปฏิบัติแล้ว ต้องสำเร็จ สำเร็จแล้ว ต้องสูงสุด
กินแล้วต้องอิ่ม สอบแล้วต้องผ่าน ทำแล้วต้องได้
อ่าน จำ ท่อง เขียน ๔ อย่างนี้ ถ้าปฏิบัติ ก็เป็นคนเก่งได้
เกียรติศักดิ์ศรีนั้นสร้างง่าย แต่รักษาเกียรติศักดิ์ศรีนั้นยาก
เกิดมาเป็นคนแล้ว ต้องปฏิบัติตนให้คุ้มค่าที่เกิดมาเป็นคน
คนมีวิชาความรู้ หรือไม่มี ดูวาจาที่เปล่งออกมาก็รู้ได้
ของใหม่ กับของเก่า ต้องรักษาของเก่าไว้อย่าทิ้ง
ธรรมนูญ และธรรมาธิปไตย ตั้งอยู่ยาวนานถึง ๕,๐๐๐ ปี ธรรมนูญของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตั้งแต่ตรัสมา ๕,๐๐๐ ปี อยู่ได้
การสร้างอาคารเป็นหน้าที่ของผู้สร้าง ส่วนการรักษาเป็นหน้าที่ของผู้ใช้
จะรู้ว่า ดินดี หรือไม่ดี ให้ดูหญ้าที่งอกขึ้นมาบริเวณนั้นว่า เหี่ยวแห้งหรือไม่ก็รู้ได้
อาจารย์ทำโทษลูกศิษย์ เพื่อประสงค์ให้ทุกข์ทรมาน หรือตกนรก ก็หาไม่ที่จริงแล้ว อยากให้ลูกศิษย์เป็นคนดี ให้เป็นคนมีวิชาความรู้ เจริญก้าวหน้าเปรียบเหมือนช่างหม้อใช้มือทุบ เพื่อปั้นหม้อให้สวยงาม หาประสงค์จะให้หม้อแตกไปไม่
คนไม่มีทรัพย์สินเงินทอง ไปยืมเครื่องประดับของคนอื่นมาสวมใส่ย่อมไม่งาม ไม่มีรสชาติ เหมือนการกินพลูที่ปราศจากปูน ฉะนั้น
คนที่ไม่สวย แต่พูดมาก คนไม่มีปัญญา แต่โอ้อวดมาก ก็เปรียบเหมือนการเขย่าหม้อน้ำที่มีน้ำเพียงเล็กน้อยให้กระเพื่อม ฉะนั้น
รูปร่างก็สวยงาม ร่างกายก็สมบูรณ์ ทรัพย์สินก็เพียงพอ ในวงศ์ตระกูลเช่นนี้ ถึงจะเกิดมาเป็นมนุษย์ แต่ถ้าไม่มีปัญญา ก็ไม่สง่างาม เหมือนดอกหูกวางที่ไม่มีกลิ่นหอม ฉะนั้น
ใจเป็นผู้สั่ง ร่างกายเป็นผู้ทำ ใจสั่งถูก ร่างกายทำถูก ใจสั่งผิด ร่างกายทำผิด